logo
กรมธนารักษ์
สำนักงานธนารักษ์พื้นที่หนองบัวลำภู
THE TREASURY
DEPARTMENT
MENU
  • A
  • A
  • A

ภารกิจ / พันธกิจ

ภารกิจสำนักงานธนารักษ์พื้นที่หนองบัวลำภู แบ่งออกเป็น 4 ส่วน  ดังนี้
(ปรับปรุงข้อมูล  ณ  วันที่ 31 กรกฎาคม 2565)
 
 1. ส่วนบริหารทั่วไป  มีหน้าที่ 
     - ดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการ
     - ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านบุคลากร
     - ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านพัสดุ
     - ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการเงิน และงบประมาณ
     - ดำเนินการเกี่ยวกับการรวบรวม และจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ผลการปฏิบัติงาน สถิติข้อมูล และงานเกี่ยวกับสารสนเทศของสำนักงานฯ
     - ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดเก็บค่าเช่าที่ราชพัสดุ ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ เงินประกันสัญญา และค่าภาษีต่างๆ ตลอดจนเงินอื่นใดที่ผู้เช่าต้องชำระ                     ให้กับทางราชการ พร้อมทั้งออกใบเสร็จรับเงิน ควบคุม ดูแล ดำเนินการเกี่ยวกับภาษีโรงเรือน ภาษีบำรุงท้องที่ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับที่ราชพัสดุ
     - ดำเนินการและประสานงานเกี่ยวกับเงินคงคลัง และเงินตราที่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม
     - ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำประมาณการรายได้ประจำปี
     - ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
2. ส่วนจัดการที่ราชพัสดุ มีหน้าที่
     2.1 การใช้ประโยชน์ในราชการ
          - พิจารณาการให้ส่วนราชการใช้ที่ดิน สิ่งปลูกสร้างที่ราชพัสดุ และการใช้ทรัพยากรในที่ราชพัสดุตามมาตรฐานหลักเกณฑ์ที่กำหนด 
          - พิจารณาการให้ส่วนราชการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้ที่ราชพัสดุ ซึ่งไม่เกินมาตรฐานหลักเกณฑ์ที่กำหนด
          - บริหารจัดการศูนย์ราชการ (ศูนย์บริหาร ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บ้านพักข้าราชการ ศูนย์ราชการกระทรวงการคลัง) ให้เป็นไปตามระเบียบ                              และหลักเกณฑ์ที่กำหนด
          - ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารจัดการ การจัดสร้างสวนสาธารณะให้เป็นไปตามสัญญาและหลักเกณฑ์ที่กำหนด การพัฒนาและจัดหาประโยชน์
          - จัดทำสัญญาเช่าทะเบียนรายตัวผู้เช่าและบัตรประจำตัวผู้เช่า
          - การจัดให้เช่า การจัดหาประโยชน์ การทำสัญญาต่างตอบแทนอื่นการกำหนดรูปแบบโครงการและผลประโยชน์ตอบแทนตามหลักเกณฑ์                            ที่กำหนดการจัดทำเงื่อนไขการเช่า เงื่อนไขการประมูล การพิจารณาผลประมูล การจัดทำสัญญา การกำกับดูแลสัญญา การบริหารโครงการ
            การหาผู้ร่วมลงทุน การหาแหล่งเงินทุน และการรับมอบอาคาร
          - การโอนสิทธิการเช่า เปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การเช่า  
          - การต่ออายุสัญญาเช่า การให้เช่าแทนผู้เช่าเดิมที่ถึงแก่กรรม
          - การอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างในที่เช่า
          - การบริหารสัญญาที่มีการลงนามแล้วตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชน
          - การใช้สิทธิตามสัญญา การบอกเลิกสัญญา เข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ
          - การพิจารณาเรื่องร้องเรียนต่างๆ เกี่ยวกับการเช่าหรือการจัดหาประโยชน์
    2.2 ด้านการวางแผนพัฒนาที่ราชพัสดุ
          - ดำเนินการจัดทำแผนการใช้ที่ราชพัสดุ
          - ดำเนินการเกี่ยวกับการขอคืนการใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุ
          - ดำเนินการเกี่ยวกับการโยกย้ายหน่วยงานผู้ใช้ประโยชน์ ผู้เช่า ผู้บุกรุก
          - ดำเนินการเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ เช่นการซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้
          - ดำเนินการปรับปรุงสภาพทำเล และลักษณะที่ราชพัสดุให้มีศักยภาพเพื่อรองรับการใช้ประโยชน์ การใช้ที่ดินให้คุ้มค่ากับศักยภาพ
          - ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
3. ส่วนจัดการฐานข้อมูล มีหน้าที่
     3.1 ด้านทะเบียนและหลักฐาน
           - ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำและตรวจสอบ รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนที่ราชพัสดุ เพื่อให้ได้ระบบฐานข้อมูล ทางทะเบียนที่ถูกต้อง
             และครบถ้วน
           - ดำเนินการเก็บรักษา และจัดทำบัญชีคุมสำเนาหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินราชพัสดุ
           - อนุญาตให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและนำวัสดุที่ได้จากการรื้อถอนไปใช้ประโยชน์
           - เป็นผู้แทนกระทรวงการคลังเพื่อรับเงินค่าทดแทนทรัพย์สินที่รื้อถอน หรือค่าเวนคืนที่ดินจากหน่วยงานของรัฐ ตามกฎหมายเวนคืนหรือกฎหมายอื่น
           - ดำเนินการเกี่ยวกับการรับมอบการส่งคืนที่ดินจากการใช้ประโยชน์ในราชการหรือจากการจัดให้เช่า
      3.2 ด้านสำรวจและส่งเสริมการรังวัด
           - ดำเนินการสำรวจรังวัด จัดทำแผนที่เพื่อให้ทราบถึงที่ตั้งแนวเขตรายละเอียดทางกายภาพการใช้ประโยชน์ที่ราชพัสดุ ทั้งใช้ราชการและ
             จัดหาประโยชน์
           - ศึกษา วิเคราะห์การสำรวจรังวัดกำหนดขอบเขตกำแพงเมือง คูเมือง
           - ดำเนินการจัดหาข้อมูลเกี่ยวข้องกับที่ราชพัสดุจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น รูปแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ ค่าพิกัด หมุดหลักฐานที่ดิน
           - ศึกษา วิเคราะห์การสำรวจรายชื่อเพื่อขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุ การจัดทำบัญชีทะเบียนที่ราชพัสดุ
           - ดำเนินการให้ได้มาซึ่งหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินและดำเนินการอื่นๆตามประมวลกฎหมายที่ดิน
           - ดำเนินการรวบรวมเก็บรักษา ตรวจสอบหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน
           - ศึกษา วิเคราะห์ พิจารณาให้ความเห็นประกอบการดำเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา และการใช้
             ราชพัสดุ
           - ดำเนินการจัดเก็บหลักฐานการสำรวจและแผนที่ที่ราชพัสดุ
           - ดำเนินการบริหารจัดการเกี่ยวกับเครื่องมือสำรวจรังวัดจัดทำแผนที่
           - ให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะ ตอบข้อหารือในการดำเนินการสำรวจรังวัด และการจัดทำแผนที่
     3.3 ด้านการพัฒนาศักยภาพที่ราชพัสดุ
           - ดำเนินการเกี่ยวกับการโยกย้ายหน่วยงานผู้ใช้ประโยชน์ เพื่อการพัฒนาที่ราชพัสดุ
           - ดำเนินการเกี่ยวกับการรับคืนที่ราชพัสดุ
           - ดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุ
           - ดำเนินการเกี่ยวกับการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุ
           - ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 4. ส่วนประเมินราคาทรัพย์สิน มีหน้าที่ 

      - รับผิดชอบเกี่ยวกับการประเมินราคาทรัพย์สินในเขตพื้นที่
     - ดำเนินการสำรวจ และเก็บรวบรวม ข้อมูลที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง อาคารชุด ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าจ้างแรงงานและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
     - ดำเนินการปรับปรุงแผนที่เพื่อประเมินราคาที่ดินรายแปลง หรือรายบล็อกละเอียดให้เป็นปัจจุบัน
     - ดำเนินการจัดทำทะเบียนทรัพย์สิน
     - ศึกษา วิเคราะห์ ประเมินราคา และบันทึกราคาประเมินรายแปลง และรายบล็อก
     - ดำเนินการจัดทำรายงาน จัดเตรียมเอกสารเพื่อเสนอคณะอนุกรรมการ และคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์
     - ให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะ ตอบข้อหารือในการเกี่ยวกับราคาประเมิน
     - ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

พันธกิจ
1. ปกครอง ดูแล บำรุงรักษาที่ราชพัสดุ ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม พร้อมที่จะนำไปใช้ประโยนช์
2. พัฒนาที่ราชพัสดุเพื่อเพิ่มมูลค่าและหรือรายได้
3. ประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศและได้มาตรฐานสากล
4. บริหารจัดการด้านเหรียญให้เพียงพอต่อความต้องการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
 
 
9 กรกฎาคม 2556 | จำนวนเข้าชม 1876 ครั้ง